การตรวจเช็คและบำรุงรักษา ถังดับเพลิง

562 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การตรวจเช็คและบำรุงรักษา ถังดับเพลิง

สถานที่ติดตั้ง

1.ต้องติดตั้งให้พ้นจากมือเด็ก หรือต้องติดตั้งให้ได้ระดับความสูง 50 ซม. ขึ้นไป หรือใช้เป็นแท่นวางถังดับเพลิงก็ได้

2.หลีกเลี่ยงการติดตั้งที่มีอุณหภูมิสูงเกิน มีความชื้นสูง หรือเกิดความสกปรกได้ง่าย เช่น ตากแดด ตากฝน หรือติดตั้งใกล้จุดกำเนิดความร้อนต่างๆ เช่น เตาไฟ หรือเครื่องจักรที่มีความร้อนสูง หรือห้ามในไปวางกลางแดด

3.การบำรุงรักษา ควรตรวจเช็คอยู่เสมอ เช่น 1 เดือนครั้ง หรือ 3 เดือนครั้ง และควรทำความสะอาดตัวถังอยู่บ่อยครั้งอย่าให้เกิดความสกปรกและควรตรวจอุปกรณ์เช่น (สายฉีด, หัวฉีด) และตรวจวัดระดับน้ำยาให้พร้อมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีสภาพใหม่อยู่เสมอ

4.หากเป็นเครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ควรยกถังพลิกคว่ำ-หงาย ประมาณ5-10ครั้ง ทุกๆ3-5เดือน เพื่อให้ผงเคมีมีการเคลื่อนตัวและไม่จับตัวเป็นก้อน จะทำให้น้ำยาไม่เสื่อมสภาพและสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.เครื่องดับเพลิงที่มีอายุเกิน 5 ปีขึ้นไป ควรนำส่งมาตรวจสอบที่บริษัทหรือควรให้ช่างที่มีความรู้เกี่ยวกับถังดับเพลิงชนิดต่าง ให้มาตรวจเช็คสภาพของตัวเครื่องและทำการถ่ายเคมีออกและบรรจุใหม่ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ใช้และสภาพแวดล้อมรอบๆตัว 

 

การตรวจสอบแรงดันภายในเครื่องดับเพลิง

 

1.แรงดันปกติ(195 psi): เข็มอยู่ในแนวตั้ง 90ºC ที่แรงดันปกติ195psi หรือในพื้นที่สีเขียวแสดงว่าอยู่ใน สภาพพร้อมใช้ แรงดันตํ่า(RECHARGE): เข็มเอียงไปทางด้านซ้ายมือนอกพื้นที่สีเขียว หรือต่ำกว่าแรงดันปกติ195psi แสดงว่าแรงดันภายในถังต่ำกว่าปกติอยู่ในสภาพไม่พร้อมใช้งาน ควรติดต่อบริษัททันทีเพื่อทำการอัด ฉีดแรงดันใหม่

2..แรงดันเกิน(OVERCHARGE): เข็มเอียงไปทางด้านขาวมือนอกพื้นที่สีเขียว หรือสูงกว่าแรงดันปกติ 195psi แสดงว่าแรงดันภายในถังสูงกว่าปกติสภาพถังอาจจะบวมหรือแตกออกหากแรงดันขึ้นสูงเกิน 1000psi อาจทำให้เกิดอันตรายเนื่องจากถังอาจระเบิดได้!!! ควรติดต่อบริษัทให้ดำเนินการแก้ไขโดยด่วน

 

***** หมายเหตุ: เครื่องดับเพลิงชนิดCO2 จะไม่มีมาตรวัดแรงดัน  เครื่องดับเพลิงชนิดนี้ จะไม่มีเกจ์วัดแรงดัน หรือ Pressure Gauge เนื่องจากเครื่องดับเพลิงชนิดนี้ต้องใช้แรงดันสูงมาก ทำให้เกจ์ไม่สามารถรับได้ โดยจะต้องตรวจความพร้อมของเครื่องดับเพลิงโดยการชั่งน้ำหนัก โดยน้ำหนักที่พร้อมใช้งานอยู่ที่ระหว่าง 14.5 – 16 กิโลกรัม สำหรับเครื่องดับเพลิง CO2 ขนาด 10 ปอนด์ หากน้ำหนักก๊าสภายในถังลดลงต่ำกว่า80 % ควรติดต่อบริษัทเพื่อทำการดำเนินการบรรจุใหม่ในทันที

 

 

 

 

ใบตรวจเช็คถังดับเพลิง

ทางบริษัทแนะนำ 5 วิธีการตรวจเช็คถังดับเพลิงแบบถูกวิธี

1.มาตรวัดแรงดัน หรือ เกจ์วัดแรงดัน (Pressure Gauge) ...


2.สลักและซีล (Pull Pin and Temper Seal) ล็อคอยู่ ไม่ฉีกขาด ..

.
3.คันบีบ (Handle) อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่บิด ไม่งอ ...


4.สายฉีด (Hose) ไม่แข็ง ไม่แตกลายงา และไม่ฉีกขาด ...


5.ตัวถังดับเพลิง (Fire Extinguisher body) ไม่เป็นสนิม ไม่บุบ

 

**การตรวจเช็คถังดับเพลิง ควรทำทุกๆ 3 เดือน หรืออย่างน้อยที่สุด ทุกๆ6เดือน ขอบคุณครับ 

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้